มวยภายนอกและมวยภายใน
 
      มวยจีนทั่วไปแบ่งมวยได้ออกเป็น 2 ประเภทคือ มวยภายนอกและมวยภายใน เราจะมาดูความแตกต่างระหว่างมวยทั้งสองชนิดนี้กันนะครับผม
 
มวยภายนอก
มวยภายใน

1 มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว ระดับความเร็วไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดหรือการขาดของแรงในระหว่างท่าต่อท่า
2 การเคลื่อนไหวมักเป็นแนวที่เป็นเส้นตรงเสียเป็นส่วนใหญ่
3 ใช้พลังในการร่ายรำมาก
4 การหายใจเข้าออกในระหว่างการร่ายรำเร็ว และไม่ สม่ำเสมอ เมื่อรำจบมักมีอาการเหนื่อยหอบให้เห็น
5 จิตใจอยู่กับเป้าหมายภายนอกร่างกาย
6 ผู้อื่นสามารถมองเห็นจิตใจที่เน้น และมุ่งมั่นออกมาทาง สีหน้า
7 ใช้มือเท้าในการเคลื่อนไหวมาก
8 พลังที่ใช้เป็นพลังที่เห็นได้ทางภายนอก ใช้แรงแข็งแรงขาด
9 เน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และกระดูก

 

 

 

1 มีการเคลื่อนไหวเป็นไปแบบช้าๆ ระดับความช้า มีความสม่ำเสมอ (ยกเว้นมวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน (ตั๊ง) ที่ท่วงท่าโดยทั่วไปจะช้า แต่จะมีบางท่าบางจังหวะ ที่มีการเน้นการออกพลัง ซึ่งจุดนี้จะเพิ่มระดับความเร็ว) ไม่มี
การหยุดหรือการขาดตอนของพลังและท่วงท่า
2 การเคลื่อนไหวเน้นการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง หรือเป็น วงกลม
3 ใช้พลังในการร่ายรำน้อย
4 ใช้การหายใจที่ลึก ยาว และสม่ำเสมอ เมื่อรำจบ แล้วไม่มีอาการเหนื่อยหอบ
5 จิตใจอยู่กับการผ่อนคลาย อยู่กับความอ่อนหยุ่น ภายในร่างกาย
6 มีสีหน้าที่ราบเรียบ ไม่แสดงสีหน้าอาการออกมา ให้บุคคลภายนอกได้เห็น
7 ใช้ร่างกายเคลื่อนไหวเป็นหน่วยเดียวกัน
8 พลังที่ใช้มองไม่เห็นจากภายนอก (พลังภายใน) ใช้ พลังอ่อนหยุ่น พลังที่ต่อเนื่องไม่ขาดตอน
9 เน้นการเสริมสร้างลมปราณ สติและจิตวิญญาณ

 


 มีคนที่ฝึกมวยภายนอกบางคนต้องการเป็นผู้เยี่ยมยุทธ์ ทุกๆ
วันจะไปที่สวนสาธารณะใช้มือ และแขนฟาดดับต้นไม้หรือเสาไฟฟ้า นานวันเข้า
ผิวหนังกล้ามเนื้อที่แขนก็จะชาด้าน ผลที่ได้รับเมื่อเปรียบกับคนทั่วไป
แล้ว แขนทั้งคู่ของคนเหล่านี้จะมีจุดเด่นที่ไม่เจ็บปวดยามถูกตี พวก
หนุ่มๆ จะภาคภูมิใจอย่างยิ่งในผลได้นี้ ก็ยังน่ากังขาอยู่ว่า การฝึกฝน
แบบนี้จะมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหรือเปล่า

ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าที่เคยฝึกฝนฝีมือชนิดนี้มาก่อน กล่าวว่า การ
ฝึกฝนนี้ จะต้องมีความต่อเนื่องตลอดจะขาดการฝึกไม่ได้เลย มิฉะนั้น
แล้วฝีมือก็จะถดถอยลงไป เลยทำให้มองเห็นได้ว่า ผู้ฝึกจะต้องทนเจ็บ
ปวดในการฟาดแขนอยู่ทุกวี่วัน จึงจะรักษาฝีมือให้คงอยู่ได้

แต่สำหรับการฝึกมวยไท่เก๊กแล้ว จะไม่มีการฝึกฝนที่จะต้องทนต่อการ
เจ็บปวดแบบนี้ และคัดค้านการกระทำแบบนี้ด้วย ฝีมือและผลทางสุข
ภาพของมวยไท่เก๊ก ล้วนแต่อาศัยความผ่อนคลายและความอ่อนหยุ่น
อาศัยความเป็นธรรมชาติฝึกฝนขึ้นมา เมื่อฝึกได้ฝีมือถึงขั้นแล้ว แม้ว่า
จะหยุดการฝึกฝนไปบ้าง พลังฝีมือก็ไม่ได้ถดถอยลงไป

ในวงยุทธจักรมีคำกล่าวว่า "ภายในฝึกลมหายใจ ภายนอกฝึกผิวหนัง
เอ็นกระดูก" คำพังเพยโบราณนี้ทำให้มองเห็นได้กระจ่างแจ้งว่ามวย
ภายในนั้นแตกต่างกับมวยภายนอก มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน วิธีการ
ฝึกจึงมีความแตกต่างกัน

ในประเทศจีนมีวิทยายุทธ์ทางหมัดมวยมากมายหลายชนิดวิชา อย่าง
น้อยก็มีไม่ต่ำกว่าร้อยชนิดวิชา แต่ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นตระกูล
มวยภายในและตระกูลมวยภายนอก วิชาถ้าไม่โน้มเอียงไปทางภายใน
ก็โน้มเอียงไปทางภายนอก

มวยภายใน มีมวยไท่เก๊ก ปากั้วจ่าง (ฝ่ามือแปดทิศ) สิงอี้เฉวียน เป็นต้น
ซึ่งเป็นมวยภายในที่มีชื่อเสียง อาศัยความผ่อนคลายอ่อนหยุ่นของทั้ง
ร่างกายอย่างสมบูรณ์แบบ

ทั้งสามวิชานี้เน้นในด้านการฝึกฝนพลังภายใน ให้ผลทางด้านเสริมสุข
ภาพอย่างเด่นชัด มีครูมวยจำนวนมากเมื่อสมัยวัยหนุ่ม ฝึกฝนทั้งมวย
ภายในและมวยภายนอก เมื่อผ่านเข้าวัยกลางคนแล้ว มักจะฝึกฝนเหลือ
แต่มวยภายในเพียงอย่างเดียว เนื่องจากการที่ต้องใช้กำลังกาย เป็นที่
แน่นอนว่าต้องทำให้เหนื่อยล้า เช่นเดียวกับการฝึกมวยภายนอกก็ต้อง
สูญเสียพละกำลังอย่างมาก กับผู้ที่เริ่มสูงวัยยิ่งไม่เหมาะสม และมีผล
ในทางลบที่ชัดเจน ไม่ก่อประโยชน์ในด้านของการบำรุงร่างกาย ดังนั้น
จึงมีครูมวยด้านมวยภายนอกที่มีประสบการณ์ เวลาที่สอนมวย ยังได้
สอนวิชาชี่กงเพิ่มเติมให้แก่ลูกศิษย์ เพื่อเสริมสร้างให้อวัยวะภายใน
แข็งแรง เสริมสร้างพละกำลังที่สูญเสียไป และเสริมสร้างความแข็ง
แกร่งให้แก่ร่างกาย

ดังนั้น จึงมีคำกล่าวว่า "เรียนมวยไม่เรียนพลัง (ภายใน) ถึงเรียนจนแก่
เฒ่า ก็มีแต่ความว่างเปล่า" แต่ว่าการฝึกชี่กงมีเป้าหมายอยู่ที่การเสริม
สร้างให้ร่างกายแข็งแรง เป็นการฝึกสิ่งที่อยู่ภายในร่างกาย กับวัยรุ่นที่
ชอบความเร้าใจ ชอบสิ่งที่อยู่ภายนอกดูเป็นสิ่งที่ขัดแยังกันอยู่ วัยรุ่น
จะรู้สึกว่าไม่สะใจ ไม่ทันใจ ไม่เหมือนกับการฝึกมวยที่มีการออกกำลัง
มีการกระโดดโลดเต้น ดูจะสนุกสนานกว่ากันมากนัก วัยรุ่นส่วนใหญ่
จึงไม่เห็นคุณค่าในเรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องที่พึงสังวรณ์ไว้

ถึงแม้ว่ามวยภายในจะเน้นในการฝึกร่างกาย บำรุงลมปราณ เสริมสร้าง
สติและจิตวิญญาณ แต่เมื่อฝึกฝีมือถึงระดับสูงแล้ว พลังบริสุทธิ์ได้ถูก
สะสมไว้มากพอ เวลาฝึกฝนจึงมีการสูญเสียพลังงานทางร่างกายที่
น้อยมาก ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วย และชะลอ
ความชราลงได้

ว่ากันตามทฤษฎีของมวยไท่เก๊กแล้ว มันมีความละเอียดอ่อนและลึก
ล้ำ ด้วยเหตุนี้มวยไท่เก๊กจึงเป็นมวยที่เรียนยากและฝึกฝนได้ยากเป็น
พิเศษ ไม่สามารถใช้เวลาอันสั้นบรรลุถึงระดับที่จะนำเอามาใช้เพื่อ
การต่อสู้ได้ หากไม่ได้พบอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ยากยิ่งที่จะเข้าสู่ประตู
แห่งมวยไท่เก๊กได้ นั่นย่อมหมายถึงผู้ฝึกนั้น จะไม่มีวันประสบกับความ
สำเร็จได้เลยฃ

ส่วนมวยภายนอก มีการใช้แรงตามข้อต่อต่างๆ ซึ่งเหมือนกับการใช้
แรงของคนเราในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว จึงเป็นการง่ายกว่าที่จะเข้าสู่
แนวทางของมวยภายนอกได้ คนที่มีความรวดเร็ว มีพละกำลังดี เมื่อ
ผ่านการฝึกฝนก็ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น
สามารถนำไปใช้เพื่อการต่อสู้ได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่ามวยไท่เก๊กอย่าง
มาก คนที่ฝึกมวยไท่เก๊กที่ยังไม่เข้าถึงระดับที่ใช้งานได้ ย่อมไม่สามารถ
ใช้ต่อสู้กับผู้ที่ผ่านการฝึกมวยภายนอกมาก่อนได้ จนมีคำกล่าวในเชิง
สบประมาทมวยภายในว่า "ฝึกมวยภายใน 10 ปี ก็ยังไม่สามารถสู้กับ
คนที่ฝึกมวยภายนอกแค่ 3 ปีได้"

จึงขอแนะนำว่าคนที่อยากสำเร็จเร็ว ควรจะหันไปฝึกมวยภายนอกจะ
ดีกว่า เห็นผลรวดเร็วกว่า แต่ถ้าคิดว่าอยากศึกษามวยไท่เก๊กจริงๆ
ก็ต้องลองถามตัวเองดูก่อนว่าจะรับสภาพของการเรียน การฝึกที่ต้อง
ใช้เวลาอันยาวนานได้หรือไม่ ตัวคุณเองมีความละเอียดอ่อนพอหรือ
ไม่ และควรทราบว่า ภายใน 3ปี 5 ปี ก็ยังไม่สามารถนำไปใช้เพื่อการ
ต่อสู้ได้

การศึกษามวยไท่เก๊กเป็นเรื่องยาว ที่ต้องใช้เวลาตลอดทั้งชีวิต